top of page

Johannes Brahms

imagesdfgdfg.jpg

Johannes Brahms เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1833 ที่นครฮัมบวร์คประเทศเยอรมนี

 เขาได้ร่ำเรียนดนตรีจากพ่อของเขาทั้งการเล่นดับเบิลเบสและรวมถึงวิชาดนตรีอื่นๆอีกด้วย บรามส์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถมากอันโดดเด่นเกินวัย สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท และมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเปียโนที่มีฝีมืออันยอดเยี่ยม

 ความสามารถทางการเล่นเปียโนของเขา ทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพครั้งแรกที่ผับแห่งหนึ่งในนครฮัมบวร์ค ตั้งแต่มีอายุเพียง 13 ปี เขาไม่หยุดที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง จนกระทั่งได้มีชื่อเสียงในนครเวียนนาอย่างมาก ได้รับการยกย่องให้เป็นทายาทดนตรีของบีโธเฟน รวมถึงการแต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จในปี ค.ศ.1876 จนได้รับการขนานนามว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของบีโธเฟนเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมีงานประพันธ์เพลงให้กับไวโอลิน และเพลงร้องอีกมาก งานของบรามส์ได้รับอิทธิพลหลากหลาย โดดเด่นด้วยศาสตร์แห่งเคานเตอร์พอยต์และพอลิโฟนี ความงดงามของบทเพลงที่เขาประพันธ์อยู่ที่รูปแบบคลาสสิกที่ถูกแต่งแต้มด้วยความถวิลหาของยุคโรแมนติก แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันทางดนตรีอันบรรเจิด ท่วงทำนองที่สร้างสรรค์ และจังหวะทำให้ประหลาดใจด้วยการสอดประสานกัน เป็นผลงานส่วนตัวของบรามส์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ซึ่งเราอาจนึกว่าจะเข้าใจยากเมื่อแรกได้ยิน แต่เราก็จะเข้าถึงได้และขาดไม่ได้ในที่สุด

 เมื่อพูดถึงเพลงร้องหรือ Lieder ที่มีชื่อเสียงของเขาคงไม่พ้น Fünf Lieder (Five Songs)  Op. 105 เป็นเพลงร้องที่รวบรวมบทกลอนจากหลายกวีมาเป็นคำร้องโดยท่อนแรก "Wie Melodien zieht es mir''

(It moves like a melody) นำบทกลอนมาจาก Klaus Groth โดยเขามักจะนึกถึงเสียงร้องของ Hermine Spies ซึ่งเป็นนักร้องที่รู้จักกับเขาโดยตรงและขับร้องเพลงของบรามห์บ่อยครั้ง

  โดยชุดเพลงนี้เปรียบเสมือนกับดอกไม้หลายๆดอกและค่อยๆนำมารวมกันเป็นช่อใหญ่ เพลงนี้ได้ถูกนำแสดงครั้งแรกเมื่อ 11 กพ. ค.ศ.1887 ที่กรุงเวียนนา ซึ่งในเวลาต่อมาเพลงนี้เป็นที่นิยมของนักดนตรีมากจึงเกิดการทำ arrangement ขึ้นมาใหม่ให้เป็นโน้ตของเครื่องนั้น เช่น ในเวอชั่นของไวโอลิน Brahms Contemplation, arr. Heifetz

               

Wie Melodien zieht es mir op. 105

 

Wie Melodien zieht es

Mir leise durch den Sinn,

Wie Frühlingsblumen blüht es,

Und schwebt wie Duft dahin.

Doch kommt das Wort und faßt es

Und führt es vor das Aug',

Wie Nebelgrau erblaßt es

Und schwindet wie ein Hauch.

Und dennoch ruht im Reime

Verborgen wohl ein Duft,

Den mild aus stillem Keime

Ein feuchtes Auge ruft.

It moves like a melody

It moves like a melody,

Gently through my mind;

It blossoms like spring flowers

And wafts away like fragrance.

 

But when it is captured in words,

And placed before my eyes,

It turns pale like a gray mist

And disappears like a breath.

And yet, remaining in my rhymes

There hides still a fragrance,

Which mildly from the quiet bud

My moist eyes call forth.

Lost

 เคยมีคนเชื่อว่าความสุขมักเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา เกิดขึ้นในชั่วขณะที่เราเผลอไผลไปกับความไม่จริงนี้ เหมือนกับแสงสว่างที่เกิดขึ้นเมื่อความมืดนั้นได้จากหายไป แสงสว่างทำให้เกิดชีวิต เกิดความสุข แต่เมื่อถึงเวลาของการจากไปของแสง สิ่งที่เกิดขึ้นคือความรู้สึกสูญเสีย การคิดคำนึงถึงและโหยหาอยู่ภายในใจลึกๆ จนบางครั้งมันทำให้เราสับสนว่าแท้ที่จริงแล้ว แสงสว่างหมายถึงการเฉลิมฉลองของความสุข หรือเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาที่ตกแต่งขึ้นอย่างสวยงามเพื่อปิดบังความมืดที่ซ่อนอยู่ในชีวิตของเรา เพียงแค่บางครั้งอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่หากรับรู้ได้ถึงการมีตัวตนของความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา

Robert

Schumann

e231a07f886238753a94b8a7f1cde37d.jpg

Robert Alexander Schumann เกิดวันที่ 8 มิ.ย พ.ศ. 2353 ที่เมืองซวิคเคา

 โรเบิร์ต ชูมัน มีความรักและสนใจในเปียโนและวรรณคดี ดังนั้นในวัยเด็กเขาจึงทั้งแต่งเพลงและหนังสือรวมถึงบทกวีด้วย  เขายอมทำทุกวิถีทางเพื่อยอมเป็นนักดนตรีเอก ทั้งการฝึกฝนด้วยความขยัน และได้ใช้เครื่องกลช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการเคลื่อนไหวของนิ้ว จนทำให้นิ้วกลางมือขวาใช้การไม่ได้ ความฝันที่จะกลายเป็นนักเปียโนเอกต้องสิ้นสุดลงเมื่อเขามีอายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น หลังจากช่วงเวลาที่เขาต้องซึมเศร้าในปี พ.ศ.2377 เขาได้หันมาสนใจและใส่ใจกับการประพันธ์เพลงและการเขียนบทความใน Neue Zeitschrift für Musik (นิตยสารใหม่เพื่อการดนตรี) ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่เป็นนักวิจารณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี

 แม้เขาจะเก่งกาจทางด้านดนตรีแค่ไหน แต่เขาไม่สามารถลบล้างความเศร้าในจิตใจไปได้รวมถึงสภาพร่างกายของเขาเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก ไม่มีสิ่งใดสามารถทำให้เขาคลายความทุกข์ลงได้ เขาเสียสติไปแล้ว แต่อาการสับสนเหล่านี้ทำให้เขาได้ประพันธ์เพลงออกมาจากความเป็นตัวตนของเขาอย่างแท้จริง ดั่งเช่นเพลง violin sonata no. 1 in A minor op.105 ที่มีท่วงทำนองไพเราะแต่เต็มไปด้วยความโกรธค่อยๆแทรกซึมผ่านเสียงเปียโนและไวโอลิน  โดยท่อนแรกเขาได้เขียนกำกับไว้ว่า Mit leidenschaftlichem Ausdruck (With passionate expression) การเล่นด้วยอารมณ์ที่เหมือนการเผาไหม้ช้าๆมากกว่าการระเบิดอารมณ์และเต็มไปด้วยความโหยหาในช่วงต่อมา มีสีสันของเสียงไวโอลินที่เล่นบนสาย G ซึ่งทำให้มีเสียงทุ้มที่นุ่มลึก โดยมีการแต่งจัวหวะที่เป็น Syncopation และฟังให้ดูเหมือนเหลื่อมกันกับลายทำนองของเปียโน ทำให้นึกถึงภาพบางอย่างที่ไม่ชัดเจนและขัดแย้งกันในบางจุด เพลงนี้มีการกระชากอารมณ์ทั้งในเรื่องของไดนามิค และลายเมโลดี เหมือนกับการมีสองบุคลิกที่คอยจะแย่งกันออกมาเผยตัวตน เป็นบทเพลงที่มีความซับซ้อนและเป็นที่น่าจดจำ

violin sonata no. 1 in A minor, opus 105

1. Mit leidenschaftlichem Ausdruck in A minor

2. Allegretto in F major

3. Lebhaft A minor

 

 ถึงจุดๆนึงของชีวิต เราจะเจอทางตันหรืออุปสรรคต่างๆที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราได้หลงทางอย่างเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะมองทางซ้ายหรือขวา ต่างก็เหมือนกันทั้งนั้น ความสับสนเหล่านี้ทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นตัวเองในที่สุด ไม่มีคนเห็น ไม่มีใครเข้าใจ มีแต่ตัวเราที่ทำได้แค่มองกระจกเงาและเห็นภาพสะท้อนตรงหน้า พร้อมกับคำถามที่ว่า “นั่นใครกัน” ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันความเสียสติอาจทำให้เกิดความสวยงาม เพียงเพราะความทรงจำบางอย่างที่ผ่านมายังคอยย้ำเตือนว่าเราเคยเป็นใคร ความสุข รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความไม่เป็นดั่งใจหวัง ล้วนเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ แม้เป็นเพียงช่วงเวลาที่ไม่อาจจับต้องได้อีกแล้ว แต่วันนั้นยังคงเป็นตัวตนของเรา แม้ในตอนนี้ เราอาจจะเป็นคนแปลกหน้าสำหรับภาพสะท้อนตรงหน้าก็ตาม

582f5ce1d781522756da25d646128ccd.jpg

  l   

  o  

     s 

       t

bottom of page