top of page

Wolfgang Amadeus Mozart เป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอพ็อลท์ โมทสาร์ท (ค.ศ. 1719–1787) รองคาเปลล์ไมสเตอร์ในราชสำนักเจ้าชายอัครมุขนายกแห่งซาลซ์บูร์ก กับอันนา มารีอา แพร์เทิล (ค.ศ. 1720–1778) โมสาร์ทแสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรีตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีทักษะการฟังที่ยอดเยี่ยมและมีความจำที่แม่นยำรวมถึงความสามารถพิเศษยิ่งยอด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้างและเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขาได้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขาตั้งแต่อายุห้าขวบ โมทสาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยินและเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง เมื่ออายุหกขวบ(ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้วคือ Minuet KV.2, 4 และ 5 Allegretto KV.3

  ใน ค.ศ. 1776 โมทสาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองซาลซ์บูรก อย่างไรก็ดี เลอัครมุขนายกปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมทซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิกเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองเอาคส์บวร์ค และท้ายสุดที่มันไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย  แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอล็อยซีอา เวเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมทสาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไป และออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1778

0f053f84f5389c9ff748f86e30b7fe9c.jpg

ในปี ค.ศ. 1782 เป็นปีที่ดีสำหรับโมทซาร์ท อุปรากรเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมทซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ตชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแชร์โตของเขาเอง

ระหว่าง ค.ศ. 1782–1783 โมทสาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของ J.S.Bach และ Geoorge Frederic Hendel แนวเพลงของโมทสาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบาโรกตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ Magic Flute และซิมโฟนี หมายเลข 41

ตัวอย่างผลงานการประพันธ์

  • Der Schauspieldirektor 

  • Le nozze di Figaro 

  • Don Giovanni 

  • Così fan tutte 

  • La Clemenza di Tito 

  • Die Zauberflöte 

  • Symphonie en fa majeur KV.75

  • Symphonie en fa majeur KV.76

  • Symphonie en fa majeur KV.Anh.223

  • Symphonie en ré majeur KV.81

  • Symphonie en ré majeur KV.95

e40a11a19069b982858acf3ac08a0eb4.gif
  • Concerto pour clarinette en la majeur KV.622 (1791, Vienne)

  • Concerto pour basson en si bémol KV.191 (1774)

  • Concerto pour violon et orchestre No 1 en si bémol majeur KV.207

  • Concerto pour violon et orchestre No 3 en sol majeur KV.216

  • Concerto pour violon et orchestre No 5 en la majeur KV.219

  • Sonate pour violon et piano en ut majeur KV.296

  • Quatuors dédiés à Haydn

  • Quatuor avec piano n°1 en sol mineur KV.478 (1785)

  • Quatuor avec piano n°2 en mi bémol majeur KV.493 (1786)

  • Trio «Les Quilles» en mi bémol majeur pour piano, clarinette, et violon KV.498 (1786, Vienne)

  • Quintette avec clarinette en la majeur KV.581 (1789, Vienne)

  • Sérénade : Une petite musique de nuit KV.525 (1787, Vienne)

Violin Sonata in G major k.301 

 เป็นเพลงแรกที่อยู่ในชุดเพลง six sonatas for piano and violin (K301 - K306) แต่งที่ Mannheim และ Paris ในขณะที่โมทสาร์ทและแม่ของเขาได้อาศัยอยู่ที่นั่นในช่วงปีค.ศ.1777-1778 โดยเขาได้เขียนจดหมายถึงพ่อของเขาเกี่ยวกับชุดเพลงนี้ว่าเขาได้แต่งขึ้นและเล่นประจำระหว่างอยู่ที่นี่ เป็นชุดเพลงที่ไม่เลวเลยและยังเป็นที่นิยมอีกด้วย เขาจึงตั้งใจจะส่งเพลงไปให้พ่อและน้องสาวได้ลองเล่นดูเพื่อความสนุกสนานและจรรโลงใจ 

ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับชุดเพลงนี้มีสองอย่างที่โมทสาร์ทได้กล่าวถึงคือ เป็นบทเพลงที่เหมือนกับเพลงโซโล่คีย์บอร์ดโซนาตา แสดงให้เห็นถึงขอบเขตของ domestic music ไม่ใช่คอนเสิร์ตพีซ และเครื่องดนตรีทั้งสองชิ้นจะมีไลน์ทำนองที่มีอิสระมากขึ้นนอกจากนี้ชุดเพลงได้ทำการตีพิมพ์ครั้งแรกในกรุงปารีสในปีค.ศ. 1778 โดยมีชื่อไตเติ้ลของเพลงว่าอุทิศให้กับ  Maria Elisabeth (Electress of the Palatinate) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Palatine Sonatas."

 ในช่วงเริ่มเพลงจะเห็นได้ว่าทำนองหลักจะเปิดด้วยลายไวโอลินและโต้ตอบด้วยเปียโนต่อ ไอเดียในท่อนแรกคือการเน้นทำนองหลักทั้งสองเครื่องและไอเดียนี้ก็มีในช่วง transition ที่กำลังจะไปสู่ทำนองหลักสองนั่นเอง และกลับมาซ้ำที่ทำนองของลายเปียโนโดยใช้ pedal-note เพื่อปิดจบท่อนได้อย่างสวยงาม ในเซคชั่นที่สองช่วง development จะยังคงเห็นว่าทั้งสองเครื่องเล่นทำนองที่เหมือนกันโดยอาจจะมีเปลี่ยน octave บ้าง และลีดถึงช่วง recapitulation ตามรูปแบบฟอร์มในที่สุด

  ในชุดเพลงทั้ง 6 นี้จะมีแค่อย่างละสองท่อนเพียงเท่านั้น โดยจะอยู่ในคีย์เมเจอร์ทั้งหมดและจะไม่ค่อยมีท่อนช้าอยู่เลย แต่สำหรับ Sonata k.301 นั้นจะเป็น Allegro ทั้งสองท่อน โดยท่อนที่สองจะให้ความรู้สึกนุ่มนวล เป็น waltz ที่อยู่ในเทอนารีฟอร์ม และมีช่วงที่เป็นไมเนอร์คีย์โดยจะให้ลายไวโอลินเป็นผู้รับผิดชอบทำนองหลัก โมทสาร์ทยังได้เพิ่มท่อนโคดาเล็กน้อยตอนใกล้จะจบอีกด้วย ซึ่งเป็นสเน่ห์ที่สำคัญของโซนาตาเบอร์นี้ 

เห็นได้ว่า Violin sonata k.301 นี้ก็ได้ผ่านการเดินทางมากมาย จาก Mannheim และ Paris แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือไม่เคยมีใครรู้เลยว่า เบื้องหลังบทเพลงที่แสนจะอบอุ่นนี้ผ่านอุปสรรคมามากน้อยเพียงใด.. ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่หนักหนามากแค่ไหน และการเดินทางภายในจิตใจของผู้ประพันธ์เองจะเป็นเช่นไร.. 

.

.

.

ติดตามได้ใน Mozart's Letter

b103c3689b79ac36d0a1a9f52c5e0e16.gif
beccd8633dad91bb62bd209f55b784ba.jpg

Wolfgang Amadeus

 

Mozart

bottom of page