top of page
7989f1bbfcd3379c14d29f220b40b067.gif
John_Cage.jpg

   JOHN
  CAGE

John Cage คีตกวี นักเปียโน นักเขียน และนักปรัชญาทางดนตรีชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองลอสแอนเจลิส 

เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เสียชีวิตที่เมือง นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เขาเป็นคีตกวีที่มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองของอเมริกา มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดที่สำคัญทางดนตรีในศตวรรษที่ 20 อยู่หลายสายเช่น ทางสายดนตรี "อวองการ์ด" (Avantgarde) 

19b1dd8ad03e6673b70f6f618cfe374e.jpg
9ee4d235951cc69c88caf7503dfafb53.jpg
19b1dd8ad03e6673b70f6f618cfe374e.jpg
19b1dd8ad03e6673b70f6f618cfe374e.jpg
19b1dd8ad03e6673b70f6f618cfe374e.jpg
19b1dd8ad03e6673b70f6f618cfe374e.jpg
19b1dd8ad03e6673b70f6f618cfe374e.jpg

งานดุริยนิพนธ์ในช่วงแรก

 งานประพันธ์ในช่วงแรกมีพื้นฐานมาจากการจัดวางระดับเสียงในบันไดเสียงโครมาติก หลังจากที่สังเกตเห็นเฮนรี คาวเวล นำเอาสิ่งของต่างๆ (เช่น คลิปหนีปกระดาษ ยางลบ ตะปู ฯลฯ)  ไปวางเสียบหรือสอดระหว่าสายเปียโนเพื่อสร้างสีเสียง (timbre หรือ tone color) ที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นนั้น เคจจึงหันมาสนใจในเปียโนพิเศษนี้ ซึ่งเรียกกันว่า prepared piano หรือเปียโนที่เตรียมแล้ว (เปียโนแปลง) เคจประพันธ์งานโดยใช้เปียโนดังกล่าวในงานชื่อว่า "บัคคานาล" (Bacchanale-1938) ให้กับซิลวิลลา ฟอร์ท (Sylvilla Fort [1917-75]) โดยใช้แทนกลุ่มเครื่องเพอร์คัสชั่น ซึ่งทำให้ prepared piano กลายสภาพไปเป็นวงเพอร์คัสชั่นที่บรรเลงโดยคนๆเดียว ต่อจากนั้นประพันธ์ "เมตามอร์โฟซิส" (Metamorphosis-1938) และงานชิ้นสำคัญที่นำชื่อเสียงมาให้ในช่วงแรกนี้ก็คือ "โซนาตาและอินเทอลูด"(Sonatas and Interludes for prepared piano [1946-48]) จำนวน 20 บท (โซนาตา 16 บท และอินเทอลูด 4 บท)

 

  ในบทเพลงนี้เคจได้บันทึกวิธีการแปลงเสียงของเปียโนจำนวน 45 เสียงเอาไว้เพื่อสร้างเสียงที่มีลักษณะอย่างเพอร์คัสชั่นแบบใหม่ขึ้น ใช้ชุดของตัวเลขเพื่อที่จะกำหนดจังหวะในหลายบทเพลงของงานชุดนี้ โดยตั้งใจให้เพลงทุกบทในชุดแสดงแนวคิดเรื่อง "อารมณ์เดียวโดยตลอด" ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดนตรีอินเดีย โดยมีอารมณ์เช่น เจ็บปวด ยิ้มหัวเราะ วีรบุรุษ สงบ ฯลฯ ใช้ตารางเมทริกซ์ในการคำนวณความยาวของบทเพลง ซึ่งส่งผลให้เกิดเอกภาพในงานโดยรวมและทำให้เลี่ยงจังหวะแบบปกติหรือที่เรียกว่า "เรกูลา ริธึม" (regular rhythm)ไปได้ ซึ่งทำให้บทเพลงมีความลื่นไหลปราศจากการถูกบังคับโดยเส้นกั้นห้อง งานในช่วงแรกอื่นๆมี "สตริงควอเต็ทอินโฟร์พาร์ท" (String Quartet in Four Parts [1950]) และ "คอนแชร์โตสำหรับเปียโนแปลงและวงดุริยางค์เชมเบอร์ที่ประกอบด้วยนักดนตรีเดี่ยว 22 คน" (Concerto for prepared piano and chamber orchestra of 22 soloists [1951]) เป็นต้น

706312ff444ff40a64e1f9ceabab051c.jpg
00:00 / 06:53

Aria (1958)

ผลงาน

  • Concerto for prepared piano and chamber orchestra (1951)

  • Concert for Pianoforte (1957-58)

  • Atlas Eclipticalis (1961-2)

  • 30 Pieces for 5 Orchestras (1981)

  • Construction I in Metal 

  • Imaginary Landscapes​

  • Speech (1955)

  • 27'10.554

  • 3 pieces for two flute (1935)

  • String Quartet (1950)

  • 4'33" 

  • 6 melodies

  • HPSCHD 

  • Aria [1958]

Six Melodies for Violin and Keyboard

 Six Melodies เป็นชุดเพลงสำหรับเครื่องไวโอลินและคีย์บอร์ด ประพันธ์โดย จอห์น เคจ ซึ่งเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นเมื่อปี 1950 เป็นเวลาไม่นานหลังจากที่เขาได้ประพันธ์เพลง  String Quartet in Four Parts โดยทั้งสองเพลงใช้เทคนิคเดียวกันนั่นก็คือ  gamut technique และ  nested rhythmic โดยในขั้นตอนแรกคือการกำหนดโน้ตหรือขั้นคู่ไว้ก่อนและใช้เซ็ทโน้ตนี้ในการแต่งเพลงที่มีความเข้ากันของฮาร์โมนีแต่ว่าแต่ไม่ได้ตรงตามฟังก์ชั่นมากนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่เคจพยายามเลี่ยงหนีในการอยู่ในกฏเกณฑ์ โดยไวโอลินจะบรรเลงโดยไม่ vibrato และใช้เทคนิคโบว์ที่เบากว่าปกติ

   สำหรับบทเพลงนี้มีทั้งหมด 6 ท่อนด้วยกัน เป็นผลงานของเคจอีกหนึ่งตัวอย่างที่ประกอบไปด้วยลายเมโลดี้ที่ปราศจากแอคคอม โดยมีการใช้โน้ตในรูปแบบ intervals ในเครื่องเดียวหรืออาจจะทั้งสองเครื่องในการประพันธ์ ตัวดนตรีจะมีความเรียบง่ายและมีบรรยากาศคล้ายกับเพลง  String Quartet in four parts หรือเรียกได้ว่าเป็น postscript ของเพลงนี้เลยก็ว่าได้ และนอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิค gamut of sounds ในอีกด้วย  โครงสร้างของจังหวะเพลงนี้คือ  3 1/2, 3 1/2, 4, 4, 3, 4.

 จากที่เห็น six melodies ถือเป็นบทเพลงที่เคจพยายามให้ฮาร์โมนีได้เดินทางเป็นอิสระ แม้ทำนองบางที่จะถูกใช้ซ้ำ แต่มันยังสามารถสร้างและขยายตัวบทเพลงให้เกิดทำนองใหม่ได้อย่างหลากหลาย

7dc2517bc4a0b5521e3c9d16c6fb8601.gif

ทั้งนี้เขายังได้ให้มุมมองการสร้างดนตรีในรูปแบบที่แปลกใหม่และกว้างขวาง เขาสามารถพาเราไปรู้จักขอบเขตของคำว่า"เสียง"ได้อย่างไม่มีขอบเขต สิ่งที่ไม่คิดว่าจะมีอยู่จริงกลับมี เพียงแค่เราต้องเรียนรู้ในอิสระของการเดินทาง เพียงแค่นั้น 

.

.

.

ติดตามต่อได้ใน How to get out of cage

bottom of page